Lemon8 Video & Photo Downloader

The easiest way to download Lemon8 video & photo without watermark or logo

LeoDownloader Download Photos ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด

ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด

TIP! Right-click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด JPEG Origin Image Download
ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด JPEG Origin Image Download
ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด JPEG Origin Image Download
ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด JPEG Origin Image Download
ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด JPEG Origin Image Download
ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่❓ บอกหมด JPEG Origin Image Download

#ลูกเป็นไข้ป้อนพาราลดไข้ให้ลูกกินเท่าไหร่ดี

พาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดและลดไข้ แม่โบคิดว่ายาพารานี้ แม่ๆน่าจะมีติดบ้านไว้เป็นแน่ เพราะเวลาลูกมีไข้ หรือฉีดวัคซีนแล้วมีไข้ จะต้องหยิบมาป้อนลูก แต่ #ยาพาราต้องป้อนตามน้ำหนักตัวลูก แล้วลูกบางบ้านน้ำหนักตัวลูกก็มีการเปลี่ยนแปลง หากป้อนน้อยเกินไปก็อาจใช้ไม่ได้ผล หรือป้อนมากเกินก็อาจเป็นอันตรายกับลูก

#การคำนวณปริมาณยาพาราให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน

1. ต้องรู้น้ำหนักตัวเด็ก (กิโลกรัม)

2. ยาพาราแต่ละขวดมีความแรงเท่าไหร่ ซึ่งดูได้จากกล่องหรือข้างขวดยาค่ะ

#ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ ในท้องตลาด มีตัวอย่างขนาดต่างๆ ดังนี้ค่ะ

💟 ชนิดบรรจุให้ดูดด้วยหลอดหยด (ดรอป)

จะมีความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม ต่อยา 0.6 ซีซี

💟 ชนิดทานแบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม

ต่อยา 5 ซีซี

💟ชนิดทานแบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม

ต่อยา 5 ซีซี

(และยังมีอีกหลายขนาด)

3. #ขนาดของยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก จะคิดตามน้ำหนักตัว

= 10-15 มิลลิกรัมของยา

ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม(10-15 มก./กก./ครั้ง)

#มาคำนวณปริมาณยาพารากัน เอาเครื่องคิดเลขมาคิดไปพร้อมๆกัน

หากต้องการคำนวณปริมาณพารา ที่น้อยที่สุดที่ลดไข้ได้ คือ 10 มก./กก./ครั้ง จะได้

1.ยาพารา 60 มก. อยู่ใน 0.6 ซีซี.

ตัวอย่าง : นน.เด็ก 8 kg

เอานน.เด็กคูณ10 =8x10 = 80

จากนั้น เอา80 x 0.6

-------------= ปริมาณยา 0.8 ซีซี

60

ดังนั้น จะป้อนยาลูกเพื่อลดไข้ได้ 0.8 ซีซี ทุก 4-6 ชั่วโมงค่ะ

2.ยาพารา 120 มก. อยู่ใน 5 ซีซี.

ตัวอย่าง : นน.เด็ก 12 kg

เอานน.เด็กคูณ12 =12x10 = 120

จากนั้น เอา120 x 5

-------------= ปริมาณยา 5 ซีซี

120

ดังนั้น จะป้อนยาลูกเพื่อลดไข้ได้ 5 ซีซี ทุก 4-6 ชั่วโมงค่ะ

3.ยาพารา 250 มก. อยู่ใน 5 ซีซี.

ตัวอย่าง : นน.เด็ก 20 kg

เอานน.เด็กคูณ20 =20x10 = 200

จากนั้น เอา 200 x 5

-------------= ปริมาณยา 4 ซีซี

250

ดังนั้น จะป้อนยาลูกเพื่อลดไข้ได้ 4 ซีซี ทุก 4-6 ชั่วโมงค่ะ

โอยย...คำนวณยากจังแม่โบ มีวิธีง่ายๆไหมคะ

#สูตรง่ายๆในการคำนวณยาพารา

– ถ้าเลือกใช้ยาชนิดดรอป (ยาขนาด60มิลลิกรัม ต่อยา 0.6 ซีซี)ก็ทานครั้งละเท่ากับ

น้ำหนักของเด็ก หารด้วย 10 (ยาเป็นซีซี)

– ถ้าใช้ชนิดแบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ทานครั้งละ เท่ากับ

น้ำหนักเด็ก หารด้วย 2 เป็น (ยาเป็นซีซี)

– ถ้าใช้ชนิดแบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละเท่ากับ

น้ำหนักเด็กหารด้วย 4 เป็น (ยาเป็นซีซี)

#ขนาดพาราเซตามอลที่เหมาะสมคือ

10 – 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

โดยรับประทานทุ 4-6 ชั่วโมงหรือเมื่อมีอาการ

• เด็กไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วัน

• ผู้ใหญ่ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 10 วัน

• ผู้ที่เป็นไข้ (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 3 วัน

*ควรปรึกษาแพทย์ เภสัช ก่อนใช้ยา เพื่อพิจารณาใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสมนะคะ

หากคุณแม่กลัวคำนวณพลาดแนะนำปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาลก่อนใช้ยาค่ะ

ด้วยรักจาก #พยาบาลแม่โบ นะคะ